ทัวร์พม่า 5 มหาบูชาสถาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด |
|
"พม่า" เรียกว่าเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ที่แต่ละปีจะมีชาวไทยเดินทางไปไหว้พระตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งชนชาติพม่าได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่ยังยึดมั่นคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก เพราะฉะนั้น วันนี้ S.C.holiday จึงนำเอา 5 มหาบูชาสถาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของประเทศพม่ามาแนะนำกัน เผื่อใครอยากจะเดินทางไปสักการะบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตบ้าง |
 |
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง |
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง เป็นศาสนสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองของชาวพม่า ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น โดยความหมายคำว่า ชเว แปลว่า ทอง, ดากอง เป็นชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง เรียก ตาโกง แปลรวมว่า ทองแห่งเมืองดากอง |
ภายในเจดีย์ชเวดากอง จะมีลานอธิษฐานสมปราถนา (ภายในกระเบื้องรูปดาว) ที่ชาวพม่าเชื่อกันว่าถ้าได้มานั่งอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะสมปราถนา มีเจดีย์รายล้อมเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง และเมื่อมาถึงทางเข้า ให้เดินตามเข็มนาฬิกา ขึ้นอยู่กับดวงวันเกิดของผู้เข้าที่จะดูตาม 12 นักษัตร รอบ ๆ พระเจดีย์ก็มีศาลเจ้าเล็ก ๆ อยู่รายรอ |
อย่างไรก็ตาม การชมเจดีย์ชเวดากองนั้นควรขึ้นชมจากทางทิศเหนือของเจดีย์ จะเป็นจุดเริ่มเดินบูชา เวลาการขึ้นไปชมนั้นเวลาที่เหมาะสม คือ 08.00 น. และ 17.00 น. ซึ่งจะมีข้อดีคนล่ะอย่างคือ ชมตอนเช้าถ่ายรูปชัดเจน ชมตอนเย็นได้บรรยากาศ |
.jpg) |
พระธาตุอินทร์แขวน หินสีทอง อัศจรรย์แห่งสมดุล |
หินสีทอง นี้ คือ พระธาตุอินทร์แขวน หรือ ไจ้ก์ทิโย ในภาษามอญ หมายความว่า หินรูปหัวฤๅษี ตั้งอยู่ที่เมืองไจ้ก์โถ่ อำเภอสะเทิม เขตรัฐมอญ |
พระธาตุอินทร์แขวน บนยอดเขาพวงลวง อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,615 ฟุต ลักษณะเด่นของ พระธาตุอินทร์แขวน คือ เป็น หินสีทอง ขนาดใหญ่สูง 5.5 เมตร รูปร่างไม่ได้ผิดแปลกจากหินทั่วไป แต่อัศจรรย์ใจตรงฐานที่ตั้ง อยู่บนหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ ท้าทายแรงดึงดูดของโลก ทำท่าเหมือนจะหล่น แต่แท้จริงแล้วไม่ไหวเอนสักนิด ช่างเหลือเชื่อ ถือเป็นการวางน้ำหนักที่สมดุล โดยมีธรรมชาติเป็นผู้สร้างสรรค์ |
พระธาตุอินทร์แขวน นับเป็น1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวพม่าต้องไปสักการะ และยังเป็นพระธาตุประจำปีจอ คนเกิดปีนี้น่าหาโอกาสไปนมัสการสักครั้งหนึ่งในชีวิต |
.jpg) |
มหาเจดีย์ชเวสิกอง เมืองพุกาม |
เป็นเจดีย์ใหญ่ สวยงาม ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศพม่า เป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวพม่าและชาวไทย ตั้งอยู่ที่เมืองพุกาม โดยชื่อ "ชเวสิกอง" มีหมายความว่า "เจดีย์ทองแห่งชัยชนะ" (ชเว = ทอง) สร้างโดย พระเจ้าอโนรธามังช่อ แต่แล้วเสร็จในรัชกาลพระเจ้าจานสิตาแห่งอาณาจักรพุกาม ราว 960 ปีก่อน ภายในเจดีย์เชื่อว่าบรรจุพระเขี้ยวแก้วและพระสารีริกธาตุ โดยอัญเชิญมาจากลังกา บนหลังช้างเผือก พระเจ้าอโนรธามังช่อได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าช้างเผือกคุกเข่าลงที่ใด จะสร้างเจดีย์ไว้ที่นั่น |
เจดีย์ชเวสิกองเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ พื้นผิวภายนอกถูกปิดด้วยทองคำเปลว ถูกบูรณะในสมัยต่อมาอีกหลายครั้ง แต่ปัจจุบันมีความสูงราว 53 เมตร หรือ 160 ฟุต มีลวดลายปูนปั้นอยู่ 3 แถว และมีเจดีย์เล็ก ๆ เป็นบริวารอยู่รายรอบ |
สำหรับความอัศจรรย์ 9 ประการ ของพระมหาธาตุชเวสิกอง ได้แก่… |
ยอดพระเจดีย์ไม่มีการใช้เหล็กเสริม |
กระดาษห่อแผ่นทองคำเปลวที่นำไปปิดส่วนยอดพระเจดีย์ จะไม่ปลิวพ้นฐานสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์ |
เงาพระเจดีย์จะไม่ล้ำออกนอกฐานสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์ (ถ้าเงาล้ำออกไป ถือว่าเป็นลางร้าย) |
ภายในเขตองค์พระเจดีย์ สามารถรองรับผู้แสวงบุญได้ไม่จำกัดจำนวน (ไม่เคยเต็ม) |
มีการให้ทานด้วยข้าวสุกร้อน ๆ ทุกเช้า (ไม่ว่าเราจะตื่นเช้าสักเพียงใด จะพบข้าวสุกในบาตรอยู่ก่อนหน้าเราเสมอ) |
เมื่อตีกลองใบใหญ่จากด้านหนึ่งของพระเจดีย์ จะไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากด้านตรงข้าม |
แม้พระเจดีย์จะตั้งอยู่บนพื้นราบ แต่เมื่อมองจากภายนอก จะเกิดภาพลวงตาคล้ายพระเจดีย์ตั้งอยู่บนที่สูง |
ไม่ว่าฝนจะตกหนักเพียงใด จะไม่มีน้ำฝนขังอยู่ในอาณาเขตขององค์พระเจดีย์ |
มีต้นพิกุล (Khaye หรือ Chayar) ซึ่งจะออกดอกตลอดทั้งปี (ปกติจะออกปีละครั้ง) |
 |
เจดีย์ชเวมอดอร์ เมืองหงสาวดี |
เจดีย์ชเวมอดอร์ หรือ พระธาตุมุเตา ตั้งอยู่กลางเมืองหงสาวดี ซึ่งเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุรวม 2 เส้น มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์ มอญ พม่า และไทย เช่น พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของพม่า และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย อีกทั้งยังเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สูงที่สุดของพม่า ด้วยความสูงถึง 374 ฟุต |
พระธาตุมุเตา เคยพังทลายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาแล้วถึง 4 ครั้ง โดยแผ่นดินไหวครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2473 ทำให้ปลียอดของพระธาตุมุเตาหักพังลงมา แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์ คือ องค์พระธาตุไม่หักลงถึงพื้น จึงเป็นความเชื่อกันว่าหากใครได้ไปกราบไหว้องค์พระธาตุ แล้วเอาไม้ไปค้ำไว้กับยอดพระธาตุที่หักลงมา จากนั้นเอาหน้าผากไปแตะกับยอดองค์พระธาตุที่หักลงมา จะทำให้ชีวิตของคนคนนั้นไม่ว่าจะถึงช่วงชีวิตที่ตกต่ำยังไงก็จะไม่ตกต่ำถึงที่สุด ซึ่งเปรียบเหมือนยอดพระธาตุที่ต่อให้ตกอย่างไรก็ตกไม่ถึงพื้น และทำให้ชีวิตของคนนั้นมีความมั่นคงถาวร |
ทั้งนี้ ยอดขององค์พระธาตุมุเตาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 และยอดของพระธาตุที่หักลงมาตั้งอยู่บริเวณลานทางทิศเหนือของพระธาตุองค์ใหม่ ซึ่งสถานตรงนี้เองได้กลายเป็นสถานที่อธิษฐานขอพร |
 |
ล้างพระพักตร์ พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์ |
พระมหามัยมุนี พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่บ้านของพม่า ประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ อดีตราชธานีของพม่าในยุคราชวงศ์คองบอง โดยคำว่า มหามัยมุนี แปลว่า ผู้รู้อันประเสริฐ ซึ่งชาวพม่าจะเรียกว่า มหาเมียะมุนี เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ เดิมทีเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของยะไข่ |
มีตำนานเล่าว่า พระมหามัยมุนี สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ องค์พระทำจากทองสัมฤทธิ์ สูง 12 ฟุต 7 นิ้ว หนัก 6.5 ตัน ก่อนสร้างกษัตริย์ผู้สร้างทรงพระสุบินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทานพรให้พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นตัวแทนของพระองค์ เพื่อเป็นเครื่องสืบพระศาสนาไปในภายหน้า โดยในอดีตแม้เมืองยะไข่จะถูกโจมตีโดยกษัตริย์เมืองอื่นที่ทรงแสนยานุภาพอย่างไร ก็ไม่อาจที่จะเคลื่อนย้ายองค์พระมหามัยมุนีออกจากเมืองได้เลย เนื่องจากมีเหตุให้ขัดข้องทุกครั้งไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2327 รัชสมัยพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบอง ที่เมืองตียะไข่ได้ รวมถึงสามารถอัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่ได้ โดยล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีไปจนถึงยังเมืองมัณฑเลย์สำเร็จ พระมหามัยมุนีจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์เป็นการถาวรนับแต่นั้นเป็นต้นมา |
และด้วยความเชื่อว่า พระพุทธมหามัยมุนี นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต เพราะด้วยเหตุที่ได้รับประทานพร (บางตำนานก็เล่าว่าได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า) จึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ถวาย โดยทุกเช้า เวลาประมาณ 04.00 น. พระมหาเถระและสาธุชนทั่วไปที่ศรัทธา จะมาทำพิธีล้างพระพักตร์ด้วยน้ำอบน้ำหอมผสมทานาคาอย่างดี พร้อมกับใช้แปรงทองแปรงที่พระโอษฐ์เสมือนหนึ่งแปรงพระทนต์ถวายพระพุทธเจ้า ก่อนใช้ผ้าจากศรัทธาสาธุชนถวายมาเช็ดจนแห้งสนิท พร้อมใช้พัดทองโบกถวายเป็นอันดี เสมือนหนึ่งได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังทรงพระชนมชีพอยู่จริง ๆ |
อนึ่ง องค์พระมหามัยมุนีมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นรอยย่นตะปุ่มตะป่ำไปทั้งพระองค์ ซึ่งหากเอานิ้วกดลงไป ก็จะรู้สึกได้ถึงความอ่อนนิ่มของทองคำเปลวที่ปิดทับซ้อนกันนับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ชั้น ตลอดระยะเวลาเนิ่นนานกว่าศตวรรษ ทำให้พระมหามัยมุนีมีอีกพระนามหนึ่งว่า "พระเนื้อนิ่ม" แต่น่าแปลกที่ว่า แม้จะมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนองค์พระใหญ่ขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่พระพักตร์ขององค์พระมหามัยมุนีก็ยังแลดูใหญ่ตามองค์พระอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการปิดทองที่องค์พระเลยแม้แต่น้อย |