ท่องเที่ยวธรรมชาติ จังหวัดสตูล |
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา |
อ.ละงู จ.สตูล

|
เกาะ เภตรามีลักษณะคล้ายเรือสำเภา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกาทะเลอันดามัน ในคาบมหาสมุทรอินเดียทางฝั่งตะวันตกของไทย ครอบคลุมพื้นที่ชายหาดตลอดแนวฝั่งทะเลในสตูลและจังหวัดตรัง ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่สำคัญคือ เกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ เกาะละโละแบนแต เกาะลิดี เกาะบุโหลน เกาะเหลาเหลียง และเกาะเปรามะ แต่ละเกาะมีเสน่ห์แตกต่างกัน ซึ่งหากชอบความเงียบสงบต้องไปที่เกาะบุโหลน
|
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา |
อ.เมือง จ.สตูล

|
อุทยาน แห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์ และความสวยงาม ประกอบไปด้วย หมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวนถึง 51 แบ่งออกเป็น หมู่เกาะใหญ่ 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะ ตะรุเตาและหมู่เกาะอาดัง-ราวี ซึ่งมีความสวยงามทั้งชายหาดและแนวปะการัง ที่พลาดไม่ได้ควรไปเที่ยวชมความงดงามของแนวชายหาด และวิถีความเป็นอยู่ของชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ ดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นที่หมู่เกาะดง เกาะยาว ร่องน้ำจาบัง แดนปะการังอ่อนเจ็ดสี
|
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน |
อ.ควนโดน จ.สตูล

|
ตั้งอยู่ที่บ้านวังประจัน ต.วังประจัน อยู่ห่างจาก อ.เมืองสตูล 40 กม. อุทยานฯ มีเนื้อที่ 122,500 ไร่ โดยรวมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุปังปุโต๊ะและหัวกะหมิงและพื้นที่ป่าควนบ่อ น้ำปูยู ในท้องที่ ต.บ้านควน ต.ปูยู อ.เมืองสตูล ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 |
คำว่า “ทะเลบัน” มาจากคำว่า “เลิด เรอบัน” เป็นภาษามลายู แปลว่า ทะเลยุบ หรือทะเลอันเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน อุทยานแห่งชาติทะเลยัน เกิดจากการยุดตัวของพื้นดินระหว่างเขาจีนและเขามดแดง เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 63,350 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้ที่ขึ้นอยู่หนาแน่น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น เลียงผา ช้าง สมเสร็จ หมูป่า ลิง ชะนี และ “เขียดว๊าก” (หมาน้ำ) ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งบึงทะเลบัน รูปร่างคล้ายกบและคางคก แต่มีหาง ส่งเสียงร้องคล้ายลูกสุนัข จะมีชุกชุมตามริมบึงโดยเฉพาะในฤดูฝน สำหรับผู้ชื่นชมการดูนกก็ไม่ควรพลาด เพราะมีนกหลายชนิดให้ดู เช่น นกแอ่นฟ้าเคราขาว นกปรอดคอลาย นกกางเขนน้ำหลังแดง นกหัวขวาน เป็นต้น |
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติทะเลบัน |
จาก สตูลใช้ทางหลวงหมายเลข 406 (สตูล- รัตภูมิ) เข้า อ. ควนโดนแยกเข้า ต. วังประจัน ตามถนนสายชายแดนไทย – มาเลเซีย หมายเลข 4184 ห่างจากด่านวังปะจัน พรมแดนติดต่อไทย –มาเลเซีย เพียง 1 กม. |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน โทร. 0-7472-2736 และ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 1 โทร. 0-7423-1055
|
เกาะตะรุเตา |
อ.เมือง จ.สตูล
|
นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของอุทยานฯ มีพื้นที่ 152 ตร.กม. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น ซึ่งยังมีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิด รวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก
|
นอกจากสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เกาะตะรุเตายังมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ โดยในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ และเป็นสถานที่กักกันนักโทษ เกาะตะรุเตาซึ่งอยู่ห่างไกลากฝั่ง เต็มไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการหลบหนี ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่จัดตั้งนิคมดังกล่าว มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการ บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนนักโทษ และโรงฝึกอาชีพขึ้นที่อ่าวตะโละวาวและอ่าวตะโละอุดัง ในปี พ.ศ. 2481 นักโทษชุดแรกจำนวน 500 คนก็ได้เดินทางมายังตะรุเตา และทยอยเข้ามาอีกเรื่อย ๆ จนมีนักโทษเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3,000 คน และในช่วงปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมือง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ มากักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง |
ในปี พ.ศ. 2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อุบัติขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค นักโทษเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ผู้คุมและนักโทษจำนวนหนึ่งจึงได้ออกปล้นสะดมเรือสินค้า ที่ผ่านไปมาในน่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา จนทำให้เรือสินค้าไม่กล้าล่องเรือผ่านมาในบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองมลายูอยู่ในขณะนั้น ได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยในการส่งกองกำลังเข้าปราบปรามโจรสลัดตะรุเตาจน สำเร็จ ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา และหลังจากนั้นเกาะตะรุเตาก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลา 26 ปี จนกระทั้งวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น โดยนับเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
|
เกาะไข่ |
อ.เมือง จ.สตูล
|
เกาะ ไข่ อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไป ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ทุกปีจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เป็นจำนวนมาก ทางด้านตะวันตกของเกาะมีหาดทรายสีขาวนวล และละเอียด น้ำทะเลใสเห็นผืนทรายใต้น้ำได้ชัดเจน
|
เกาะหินงาม |
อ.เมือง จ.สตูล

|
เกาะ หินงาม เกาะขนาดเล็กทางทิศใต้ของเกาะอาดัง ทั้งเกาะเต็มไปด้วยหินสีดำ กลมเกลี้ยง มันวาว เล่ากันว่าหินทุกก้อนมีคำสาปของเจ้าพ่อตะรุเตา หากใครนำติดตัวไปจะเกิดแต่หายนะ แต่หากไปชมแล้วเรียงก้อนหินได้ 12 ชั้น แล้วอธิษฐานขอพรก็จะได้สมปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง
|
เกาะหลีเป๊ะ |
อ.เมือง จ.สตูล

|
เกาะ หลีเป๊ะ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง มีชุมชนชาวเลอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง รอบเกาะเต็มไปด้วยป่าปะการังอันสมบูรณ์ มีเวิ้งอ่าวสวยงาม หาดทรายขาวละเอียด อ่าวที่สวยงามที่สุดคือ อ่าวพัทยา บนเกาะมีที่พักเพื่อบริการนักท่องเที่ยวทั้งด้านหน้าและด้านหลังเกาะ ในเดือน 6 และเดือน 11 ขึ้น 13-15 ค่ำตลอด 3 วัน 3 คืน ชาวบ้านที่มีเชื้อสายชาวเลจะมารวมกันที่เกาะแห่งนี้เพื่อจัดงานประเพณีลอย เรือ ตามความเชื่อที่จะขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสี่ยงทายอนาคตของการประกอบอาชีพ
|
เกาะหินซ้อน |
อ.เมือง จ.สตูล

|
เกาะหินซ้อน มีลักษณะแปลกคือ หินขนาดใหญ่ 2 ก้อนวางซ้อนตัวกันอยู่กลางทะเล
|
เกาะอาดัง |
อ.เมือง จ.สตูล

|
เกาะ อาดัง ที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนเกาะมีหาดทรายละเอียดเหมาะสำหรับการดำน้ำตื้น รอบเกาะเป็นภูเขาสูง ป้าไม้ปกคลุมหนาแน่น มีน้ำตกโจรสลัด ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี อีกแห่งที่ย่าสนใจคือยอดผาชะโด จุดชมวิวซึ่งในอดีตเป็นจุดสังเกตการณ์ของโจรสลัด สามารถมองเห็นทิวสนและแหลมทรายสีขาวของเกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ และยังชมพระอาทิตย์ขึ้นได้อีกด้วย
|
เกาะราวี |
อ.เมือง จ.สตูล
|
เกาะ ราวี ห่างจากเกาะอาดังเพียง 1 กม. เป็นเกาะที่มีหาดทรายสวยงาม น้ำทะเลใสเงียบสงบ เป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ต.ต.6 (หาดทรายขาว) บนเกาะไม่มีที่พัก นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำดูแนวปะการังน้ำตื้นซึ่งยาวกว่า 200 ม. อีกทั้งยังมีความสมบูรณ์สูง นับเป็นสวรรค์บนผืนน้ำอันแท้จริง
|
อ่าวตะโละวาว |
อ.เมือง จ.สตูล

|
อ่าว ตะโละวาว อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ตต.1 (ตะโละวาว) จำลองอาคารที่เคยเป็นบ้านพักของผู้คุมเรือนนอนนักโทษ โรงฝึกอาชีพ ทางทิศใต้ของเกาะคือ อ่าวตะโละอุดัง ที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ตต.2 (ตะโละอุดัง) เคยเป็นที่กักขังนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และ กบฏนายสิบ
|
อ่าวพันเตมะละกา |
อ.เมือง จ.สตูล

|
อ่าว พันเตมะละกา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ตะรุเตา และจากจุดนี้สามารถเดินไปยังผาโต๊ะบู หน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 ม. เพื่อชมความงดงามของคลองพันเตมะละกา เกาะไข่ และอุทยานแห่งชาติเภตรา ออกจากที่ทำการอุทยานฯ ไปอีก 8 กม. จะถึงอ่าวสน มีหาดทรายที่โค้งสลับกับหาดหินและเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล
|
หมู่เกาะสาหร่าย |
อ.เมือง จ.สตูล

|
ห่าง จากท่าเรือเจ๊ะบิลัง อ.เมือง ประมาณ 12 กม. นั่งเรือ 2 ช.ม. หมู่เกาะสาหร่าย นี้มี 2 เกาะใกล้กัน ชาวเมืองเรียกเกาะยะระโตด และยะระโตดนุ้ย มีชายหาดโดยรอบเกาะ ใกล้เกาะยะระโตด มีเกาะหาดหอยงาม ซึ่งคลื่นซัดเปลือกหอยไปกองไว้เป็นเกาะ คล้ายสุสานหอย
|
เกาะเขาใหญ่ |
อ.ละงู จ.สตูล
|
เกาะ เขาใหญ่ อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตร บนเกาะมีอ่าวชื่อนะปุลา จุดเด่นของเกาะเขาใหญ่ คือ ปฏิมากรรมธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งไปในทะเล ยามน้ำลดสามารถพายเรือลอดได้ |
นอกจากนี้ยังมีสถานที่เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาของประมงจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ใกล้เกาะเขาใหญ่ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมแวะไปชมมากเช่นกัน
|
เกาะลิดี |
อ.ละงู จ.สตูล

|
อยู่ ห่างจากที่ทำการฯ (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กิโลเมตร มีหน้าผาและถ้ำเป็นที่อาศัยของนกนางแอ่นเป็นจำนวนมาก เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และมีเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในตัวเกาะเป็นสระน้ำใสสะอาด เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเล่นน้ำทะเล |
ปัจจุบันเกาะลิดีมี หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีบ้านพัก และบริเวณที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว สามารถติดต่อเรือประมงได้จากที่ทำการอุทยานฯ |
เสน่ห์ของเกาะลิดี อยู่ที่การเป็นเกาะคู่แฝดที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน และมีเกาะน้อยๆประมาณ 3-4 เกาะ เรียงรายอยู่ใกล้ๆ |
มีถ้ำซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของนกนางแอ่น รอบด้านคือหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และมีเวิ้งอ่าวยื่นไปในน้ำ
|
ถ้ำเจ็ดคต |
กิ่ง อ.มะนัง จ.สตูล

|
ถ้ำ เจ็ดคต ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลปาล์มพัฒนา กิ่งอ.มะนัง ห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่าวังสายทอง 3 กม. ลักษณะถ้ำคดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา มีลำธารไหลผ่านภายในถ้ำ สามารถล่องเรือภายในถ้ำได้ตลอดระยะทางเพื่อชมธรรมชาติและหินย้อย มีหาดทรายขาวระยิบระยับภายในถ้ำบริเวณมุมที่คดเคี้ยว คล้ายกับเพชรที่โปรยไว้ที่หาดทราย บริเวณหาดทรายสามารถกางเต็นท์ได้ มีลมพัดเบาๆ และอากาศเย็นสบาย ไม่อับชื้น
|
น้ำตกยาโรย |
อ.ควนโดน จ.สตูล
|
เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำในป่าหัวกระหมิง มี 9 ชั้น แต่ละชั้นเป็นแอ่งสามารถเล่นน้ำได้ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในท้องถิ่น |
การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4148 (สายควนสตอ-วังประจัน) กม. ที่ 14-15 ประมาณ 6 กม. จะมีทางแยกเข้าไปอีก 700 เมตร
|
น้ำตกโตนปลิว |
อ.ควนโดน จ.สตูล
|
น้ำตกโตนปลิว มีต้นน้ำมาจากภูเขาจีน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีหลายชั้น ไหลจากหน้าผาสูง สวยงามมาก |
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 4184 (สายควนสตอ-วังประจัน) กม. ที่ 9-10 หรือห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ประมาณ 10 กม. มีทางลูกรังแยกไปอีก 3 กม.
|
ถ้ำภูผาเพชร |
กิ่ง อ.มะนัง จ.สตูล

|
ถ้ำ ภูผาเพชร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในถ้ำเป็นโพรงที่มีความลึก เป็นคูหาขนาดกว้าง โอ่โถง มโหฬารตระการตา มีเพดานถ้ำสูงโปร่ง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ (20,000)ตารางวา |
เดิมมีชื่อเรียกว่า ถ้ำลอด หรือถ้ำเพชร หรือถ้ำยาต่อมาได้มีการตั้งชื่อว่า ถ้ำภูผาเพชร เนื่องจากภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย ที่มีลักษณะแวววาวเมื่อกระทบกับ แสงไฟประดุจเพชร จึงเรียกว่าถ้ำเพชร หรือถ้ำภูผาเพชร |
ถ้ำ ภูผาเพชรอยู่ในเขตหมู่ที่6 บ้านป่าพน ตำบลปาล์มพัฒนา กิ่งอำเภอมะนังเดินทางจากศาลากลางจังหวัดสตูล ไปตามถนนสายสตูล-หาดใหญ่ถึงสามแยกนิคมควนกาหลง เดินทางต่อไปอีก 15 กิโลเมตร ถึงสามแยกผัง 1 ตำบลอุใดเจริญ เลี้ยวขวาเข้าถนนผัง 1 ที่ว่าการกิ่งอำเภอมะนัง ไปตามถนนจนถึงสี่แยกบ้านผัง ปาล์ม 1 เลี้ยวซ้ายประมาณ 500 เมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนผังปาล์ม 1 บ้านป่าพน ซึ่งเป็นถนนลูกรังต่อไปจนถึงโรงเรียนบ้านป่าพนเลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงถ้ำภูผาเพชร
|
ถ้ำจระเข้ |
อ.เมือง จ.สตูล

|
ถ้ำ จระเข้ เป็นถ้ำที่ลึกลับวิจิตรสวยงามของหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตา อันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกประมาณ 300 เมตร ทางอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้ทำทางเดินภายในถ้ำและยังมีผู้นำทางทำให้เกิดความสะดวกสบาย การเดินทางสามารถเดินทางไปโดยติดต่อเรือหางยาวบริเวณหน้าที่ทำการอุทยานฯ หรือนั่งเรือไปตามลำคลองมะละกาที่อ่าวพันเต ซึ่งทางอุทยานฯ ได้จัดเรือไว้บริการพาชมถ้ำต่างๆ |